
- เพื่อรวบรวมผู้รู้ พ่อครู แม่ครู ช่างพื้นบ้านในแขนงต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนล้านนา
- ศึกษารวบรวมข้อมูล องค์ความรู้พื้นบ้านออกมา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ศึกษา และสืบทอดได้
- จัดการสืบสานภูมิปัญญาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย โดยมีหลักสูตรอบรมระยะสั้นและหลักสูตรตามอัธยาศัย เพื่อเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญากับสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญา
- เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธารณชนให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ประสานเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ในการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญา
- จัดตั้งกองทุนสวัสดิการให้กับพ่อครูแม่ครูโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา